0
ประวัติความเป็นมา
ตำบลทุ่งเตาใหม่แยกออกจากตำบลทุ่งเตา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีจำนวนหมู่บ้าน ๘ หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านซึ่งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ครบทุกหมู่บ้าน ได้ยกฐานะจากสภาตำบลทุ่งเตาใหม่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ และมีผลยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เป็นต้นมา
ที่ตั้ง ตำบลทุ่งเตาใหม่เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จดตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ จดตำบลทุ่งเตา อำเภอบ้านนาสาร
ทิศตะวันออก จดตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์
ทิศตะวันตก จดตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาสาร
แผนที่ตำบลทุ่งเตาใหม่
เนื้อที่ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ มีพื้นที่ประมาณ ๗๑.๓๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๔,๕๗๕ ไร่
พื้นที่เกษตร ๒๙,๗๓๗ ไร่
ภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของตำบลทางตอนเหนือมีลักษณะพื้นที่ค่อนข้างเรียบ ทางตอนกลาง ตอนใต้และทางตะวันตก มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดชัน มีความลาดชัน ๒–๑๐% ส่วนทางด้านตะวันออก มีสภาพพื้นที่ลาดชันเป็นเทือกเขาซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร แหล่งแร่ มีคลองหยาไหลผ่านแบ่งอาณาเขตสองตำบล พื้นที่ทั้งหมดเหมาะสำหรับทำสวนยางพารา ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ ภายในตำบลมีลำห้วยไหลผ่านคือ ห้วยชัน ห้วยเรียน ห้วยเถือหมู ห้วยลึก ห้วยลูกระนาด มีแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ แร่ยิปซั่มและแฮนไดรไซด์
สภาพภูมิอากาศ ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนานและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้ฤดูร้อนและฝนระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ฤดูฝนมีน้ำมากเกินไปและฤดูร้อนเกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง
ประชากร
ประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ๖,๕๒๗ คน (และมีประชากรแฝงในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ คน)
ชาย ๓,๒๙๙ คน หญิง ๓,๒๒๘ คน
การปกครองของตำบลทุ่งเตาใหม่ แบ่งออกเป็น ๘ หมู่บ้าน
หมู่ที่ ๑ บ้านขุนราษฎร์ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายณรงค์ขัย รักษาจันทร์
หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยตอ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายบุญชัย คงยิ่ง
หมู่ที่ ๓ บ้านควนกองเมือง ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายวิศิษย์ พัฒนประดิษฐ์
หมู่ที่ ๔ บ้านไสดง ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายวิรัตน์ เสือล่อง
หมู่ที่ ๕ บ้านห้วยชัน ชื่อกำนัน นายสุพร รักษาศรี
หมู่ที่ ๖ บ้านสะพานสอง ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายจเร สังข์ทอง
หมู่ที่ ๗ บ้านหนองศิลป์ชัย ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสุบรรณ์ สุวรรณรัตน์
หมู่ที่ ๘ บ้านไสดงใน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสมภาส สุทธิเนียม
มีครัวเรือนทั้งหมด ๒,๒๔๑ ครัวเรือน เป็นครัวเรือนเกษตรกร ๒,๐๖๒ ครัวเรือน โดยแยกเป็นรายหมู่บ้านได้ ดังนี้ (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม ๒๕๖๕)
หมู่ที่ |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
รวม |
จำนวนครัวเรือนเกษตรกร |
|
เพศชาย |
เพศหญิง |
||||
๑ |
๓๒๔ |
๕๒๕ |
๕๑๗ |
๑,๐๔๒ |
๒๓๐ |
๒ |
๒๓๗ |
๓๑๒ |
๓๒๔ |
๖๓๖ |
๑๗๕ |
๓ |
๓๑๗ |
๔๓๐ |
๔๓๘ |
๘๖๘ |
๒๒๐ |
๔ |
๓๔๘ |
๕๐๒ |
๔๕๔ |
๙๕๖ |
๒๒๒ |
๕ |
๓๔๒ |
๕๑๖ |
๕๐๑ |
๑,๐๑๗ |
๒๑๒ |
๖ |
๒๒๗ |
๓๓๗ |
๓๔๙ |
๖๘๖ |
๑๕๐ |
๗ |
๒๗๑ |
๔๐๑ |
๓๘๖ |
๗๘๗ |
๑๖๘ |
๘ |
๑๗๕ |
๒๗๖ |
๒๕๙ |
๕๓๕ |
๑๑๐ |
0
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๘๒ ของประชากรทั้งหมด และร้อยละ ๗.๑๘ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขายและรับราชการ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา เงาะ ทุเรียน และกล้าไม้
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- โรงไม้ยางพารา | จำนวน | ๑ | แห่ง | |
- เหมืองแร่ | จำนวน | ๒ | แห่ง | |
- อู่ซ่อมรถยนต์ , สิบล้อ | จำนวน | ๔ | แห่ง | |
- อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ | จำนวน | ๖ | แห่ง | |
- สถานที่รับซื้อน้ำยางพารา | จำนวน | ๒๓ | แห่ง | |
- สหกรณ์รับซื้อยางแผ่น | จำนวน | ๑ | แห่ง | |
- สถานที่รับซื้อยางพารา | จำนวน | ๓ | แห่ง | |
- ร้านขายของชำ | จำนวน | ๖๖ | แห่ง | |
- บ้านเช่า | จำนวน | ๖ | แห่ง | |
- ปั๊มน้ำมัน | จำนวน | ๑ | แห่ง | |
- ร้านเสริมสวย | จำนวน | ๕ | แห่ง | |
- ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ | จำนวน | ๑ | แห่ง | |
- ร้านซัก อบ รีด | จำนวน | ๒ | แห่ง |
0
การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา | จำนวน | ๕ | แห่ง | |
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | จำนวน | ๑ | แห่ง |
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด | จำนวน | ๑ | แห่ง | |
- ที่พักสงฆ์ | จำนวน | ๒ | แห่ง |
การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลศูนย์ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล | จำนวน | ๑ | แห่ง | |
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน | จำนวน | ๘ | แห่ง | |
- อัตราการมีและใช้ส้วมราด | ร้อยละ | ๑๐๐ |
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่พักสายตรวจประจำตำบล | จำนวน | - | แห่ง |
0
การคมนาคม
- ทางหลวงแผ่นดิน | จำนวน ๑ สาย | คิดเป็นร้อยละ | ๑.๐๐ | |
- ทางหลวงชนบท | จำนวน ๒ สาย | คิดเป็นร้อยละ | ๒.๐๐ | |
- ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง/หินผุ | คิดเป็นร้อยละ | ๘๒.๑๐ | ||
- ถนนภายในหมู่บ้านลาดยาง | คิดเป็นร้อยละ | ๒.๘๐ | ||
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก | คิดเป็นร้อยละ | ๒.๑๐ | ||
- ถนนลำลอง (ถนนดินเดิม) | คิดเป็นร้อยละ | ๑๐.๐๐ |
การไฟฟ้า
ไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง ๘ หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ ๙๕
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำห้วย | จำนวน | ๗ | สาย | |
- บึง หนองน้ำ และอื่น ๆ | จำนวน | ๓ | แห่ง |
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- สระเก็บน้ำ | จำนวน | ๑๐ | แห่ง | |
- ประปาหมู่บ้าน (กรมอนามัย) | จำนวน | ๒ | แห่ง | |
- ประปา (กรมทรัพยากรธรณี) | จำนวน | ๔ | แห่ง | |
- ฝาย | จำนวน | ๒ | แห่ง | |
- บ่อน้ำตื้นสาธารณะ | จำนวน | ๔๙ | แห่ง | |
- บ่อน้ำส่วนตัว | จำนวน | ๙๕๙ | แห่ง | |
- บ่อบาดาล | จำนวน | ๑๕ | แห่ง | |
- ถังคอนกรีตเสริมเหล็ก | จำนวน | ๑ | แห่ง | |
- ฝ.๓๐ , ฝ.๙๙ | จำนวน | ๓ | แห่ง |
สถานที่ท่องเที่ยว
- น้ำตกหูหนาน หมู่ที่ ๕
0
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- แหล่งแร่ยิปซั่ม เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ทำรายได้ให้ตำบล | |
- น้ำตกหูหนาน | |
- ป่าสงวนแห่งชาติ |
มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน | ๑ รุ่น | สมาชิกจำนวน | ๑๓๖ | คน | |
- กลุ่มเยาวชน | ๑ รุ่น | สมาชิกจำนวน | ๘๐ | คน | |
- กลุ่มสตรีอาสาสมัคร | ๘ กลุ่ม | สมาชิกจำนวน | ๓๕๐ | คน | |
- อปพร.ตำบล | ๑ กลุ่ม | สมาชิกจำนวน | ๖๔ | คน | |
- อสม. | ๑ กลุ่ม | สมาชิกจำนวน | ๑๓๒ | คน | |
- กลุ่มชุดรักษาความสงบของหมู่บ้าน | ๑ กลุ่ม |
0
ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล | ||||
- ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล | จำนวน | ๔ | คน | |
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล | จำนวน | ๘ | คน | |
(๑) จำนวนบุคลากร | จำนวน | ๑๙ | คน | |
- ปลัด อบต. | ๑ | คน | ||
- ตำแหน่งในสำนักปลัด อบต. | ๕ | คน | ||
- ตำแหน่งในกองคลัง | ๔ | คน | ||
- ตำแหน่งในกองช่าง | ๒ | คน | ||
- พนักงานจ้าง | ๗ | คน | ||
(๒) ระดับการศึกษาของบุคลากร | ||||
- ประถมศึกษา | - | คน | ||
- มัธยมศึกษา / อาชีวศึกษา | ๕ | คน | ||
- ปริญญาตรี | ๑๑ | คน | ||
- ปริญญาโท | ๓ | คน | ||
(๓) รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล | ||||
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ | ๓๙,๐๘๓,๗๐๔.๘๑ | บาท | แยกเป็น | |
- รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง | ๘๗๘,๙๖๘.๗๔ | บาท | ||
- รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ | ๒๒,๙๕๒,๙๑๓.๐๗ | บาท | ||
- เงินอุดหนุนจากรัฐบาล | ๑๕,๒๕๑,๘๒๓.๐๐ | บาท |
ข. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
(๑) การรวมกลุ่มของประชาชน ๒๙ กลุ่ม แยกเป็น
- กลุ่มอาชีพ | ๒ | กลุ่ม | |
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต | ๘ | กลุ่ม | |
- กลุ่มผู้ใช้น้ำ | ๘ | กลุ่ม | |
- กลุ่มสมุนไพร | ๑ | กลุ่ม | |
- กลุ่มผสมปุ๋ยใช้เอง | ๒ | กลุ่ม | |
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร | ๒ | กลุ่ม | |
- กลุ่มปรับปรุงคุณภาพไม้ผล | ๑ | กลุ่ม |
(๒) จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
มีน้ำตกที่สวยงามเหมาะแก่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต คือ น้ำตกหูหนาน