มาตรการเผยเเพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
30 พฤศจิกายน 542

253


มาตรการการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต

…………………….…………………..……………

               

ตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ มีแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต/แจ้งเบาะแส ด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ทั้งนี้ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ และแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรื่องร้องเรียน กรณีเกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ขึ้น ดังนี้

                เจ้าหน้าที่  หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานส่วนตำบล และพนักงานจ้างในองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่

ทุจริต  หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

                ประพฤติมิชอบ  หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของส่วนราชการ ไม่ว่าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัตินั้นเป็นการทุจริตด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงการประมาทเลินเล่อในหน้าที่ดังกล่าวด้วย

                ข้อร้องเรียน  หมายถึง ข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัด และข้อกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความรับผิดชอบต่อประชาชน ไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และไม่มีธรรมาภิบาลตามที่กฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้

 

                หลักเกณฑ์และรายละเอียดในการร้องเรียน

                ๑.  หลักเกณฑ์การร้องเรียน

                เรื่องที่จะนำมาร้องเรียนต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเนื่องมาจากเจ้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ในเรื่องดังต่อไปนี้

                (๑)  กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

                (๒)  กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

                (๓)  ละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ

                (๔)  ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกิดสมควร

                (๕)  กระทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือจัดหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

                ๒.  เรื่องที่ร้องเรียนต้องเป็นเรื่องจริงที่มีมูล มิใช่ลักษณะกระแสข่าวที่สร้างความเสียหายแก่บุคคลที่ขาดหลักฐานแวดล้อมที่ปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนขาดพยานบุคคลแน่นอน

                ๓.  ข้อร้องเรียนให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องระบุข้อมูลต่อไปนี้

                -  ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องเรียน

                -  ชื่อหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องที่เป็นเหตุแห่งการร้องเรียน

                -  การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการร้องเรียน พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว (หรือแจ้งช่องทางและการทุจริตของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนเพื่อดำเนินการสืบสวน สอบสวน)   

                -  คำขอของผู้ร้องเรียน

-๒-

                -  ลายมือชื่อของผู้ร้องเรียน

                -  ระบุวัน เดือน ปี

                -  ระบุพยานเอกสาร  พยานวัตถุ พยานบุคคล (ถ้ามี)

                -  กรณีการร้องเรียนที่มีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์จะรับพิจารณาเฉพาะรายที่ระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง  ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอนเท่านั้น

                ๔.  เรื่องร้องเรียนที่อาจไม่รับพิจารณา

                -  ข้อร้องเรียนที่ไม่ระบุพยานหรือหลักฐานที่เพียงพอ

               

***  ช่องทางการร้องเรียน ผู้ร้องเรียนสามารถส่งข้อความร้องเรียนผ่านช่องทาง ดังนี้

๑.  ส่งข้อร้องเรียนหรือร้องเรียนด้วยตนเองโดยตรงที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่  เลขที่ ๒๑๐/๔  หมู่ที่ ๗  ตำบลทุ่งเตาใหม่  อำเภอบ้านนาสาร  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ๘๔๑๒๐

๒.  ร้องเรียนผ่านเว็บไซต์สำนักงานที่ http://thungtaomai.go.th/

๓.  ร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรมตำบลทุ่งเตาใหม่

๔.  ร้องเรียนทางโทรศัพท์ / ศูนย์ดำรงธรรมตำบลทุ่งเตาใหม่ ๐ ๗๗๙๕ ๐๐๑๖

                               

                               

 

 

มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจเพื่อป้องกันการทุจริต ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่
30 พฤศจิกายน 542

1487


มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจเพื่อป้องกันการทุจริต

ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่

       

        เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตใหม่ เป็นไปด้วยความโปร่งใส ตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน จึงได้กำหนดแนวทางนโยบายมาตรการภายในเพื่อส่งเสริมหน่วยงานให้มีคุณธรรมและความโปร่งใส ป้องกันการทุจริตตรวจสอบได้ ลดการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นมาตรฐานทิศทางเดียวกัน คือ มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ โดยกำหนดแนวทาง ดังนี้

  1. ให้มีคู่มือการกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่อยู่ในภารกิจหลักของหน่วยงาน
  2. ให้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน
  3. ให้มีการนำเผยแพร่ และจัดเก็บประมวลข้อมูลสามารถสืบค้นได้
  4. ให้มีการนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน
  5. ให้มีการติดตาม ทบทวน หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานและถูกต้องอยู่เสมอ

 

มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนร่วม
30 พฤศจิกายน 542

250


  มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนร่วม

…………………….…………………..……………

                องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ได้มีนโยบายด้านการส่งเสริมการบริหารจัดการแบบ       ธรรมาภิบาล โดยมุ่งเน้นการวางรากฐานการพัฒนาให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาว ทั้งในส่วนขององค์กรและชุมชนซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรและชุมชนให้เกิดความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ จึงยึดแนวทางการบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ ให้มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ได้ประกาศเจตจำนงในการบริหารงาน เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนี้

                ๑. ผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ต้องมีความเข้าใจความหมายของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)

                ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นความผิดเชิงจริยธรรมและเป็นความผิดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การทุจริต สำนักงาน ก.พ. ได้นิยามความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ทับซ้อนและผลประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง สถานการณ์หรือการกระทำที่บุคคลไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการพนักงานบริษัท หรือผู้บริการมีผลประโยชน์ส่วนตัวมากจนมีผลต่อการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ และส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม

                ๒.การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน

๒.๑  ปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ  การทำเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะเป็นหน้าที่หลักผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ต้องตัดสินใจและให้คำแนะนำภายในกรอบกฎหมายและนโยบาย จะต้องทำงานในขอบเขตหน้าที่ พิจารณาความถูกผิดไปตามข้อเท็จจริง ไม่ให้ประโยชน์ส่วนตนมาแทรกแซง รวมถึงความเห็นหรือทัศนคติส่วนบุคคล ปฏิบัติงานต่อทุกคนอย่างเป็นกลาง ไม่มีอคติลำเอียงในเรื่องต่าง ๆ เช่น ศาสนา อาชีพ จุดยืนทางการเมือง เผ่าพันธุ์ วงศ์ตระกูล ฯลฯ ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่  ไม่เพียงต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่งต้องมีจริยธรรมในการปฏิบัติงานด้วย

                  ๒.๒  สนับสนุนความโปร่งสาและความพร้อมรับผิด  การจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนต้องอาศัยประสบการณ์แสวงหาที่เปิดเผยและมีการจัดการที่โปร่งใส โดยเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบและมีความพร้อมรับผิด เช่น การโอน(ย้าย)ข้าราชการ จากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน การเปิดเผยผลประโยชน์ส่วนตนหรือความสัมพันธ์ที่อาจมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นขันตอนแรกของการจัดการและประโยชน์ทับซ้อน การใช้กระบวนการอย่างเปิดเผยทั่วหน้า อันจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ให้ความร่วมมือและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                  ๒.๓  ส่งเสริมความรับผิดชอบส่วนบุคคลและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างการแก้ปัญหาหรือจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน  ซึ่งจะสะท้อนถึงวามยึดหลักคุณธรรมและความเป็นมืออาชีพของผู้ปฏิบัติงานและขององค์กร การจัดการต้องอาศัยข้อมูลนำเข้าจากทุกระดับในองค์กร ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบเรื่องการสร้างระบบนโยบาย รวมถึงผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรับผิดชอบโดยการระบุผลประโยชน์ทับซ้อนที่ตนมี จัดการกับเรื่องส่วนตนเพื่อหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนมากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้และผู้บริหารต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างด้วย

 

 

 

 

-๒-

 

                  ๒.๔  สร้างวัฒนธรรมองค์กร  ผู้บริหารต้องสร้างสภาพแวดล้อมเชิงนโยบายที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเมื่อมีประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้น และสร้างวัฒนธรรมแห่งความซื่อตรงต่อหน้าที่ ดังนี้

                        -ให้ข้อแนะนำและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และการปฏิบัติ รวมถึงการใช้กฎเกณฑ์ที่มีในสภาพแวดล้อมการทำงาน

                        -ส่งเสริมให้มีการสื่อสารอย่างเปิดเผยและมีการเสวนาแลกเปลี่ยนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสบายใจในการเปิดเผยและหารือเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนในที่ทำงาน

                        -ป้องกันไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนที่ผู้ปฏิบัติงานเปิดเผย เพื่อมิให้มีผู้นำไปใช้ในทางที่ผิด

                        -ให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงนโยบายและกระบวนการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อให้รู้สึกเป็นเจ้าของและปฏิบัติตาม

                ๓.ข้อไม่พึงปฏิบัติ

                   ๓.๑  ไม่พึงรับสิ่งตอบแทนที่เป็นเงินและไม่ใช่ตัวเงินที่มูลค่าสูงเกินความเหมาะสมและได้มาโดยมิชอบ

                   ๓.๒  ไม่พึงตัดสินใจในหน้าที่การทำงาน โดยมีเรื่องของการเงินและการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของผู้ปฏิบัติงานเพื่อออกกฎหมายหรือกระทำการอื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม

                   ๓.๓  ไม่พึงทำงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหรือจัดซื้อจัดจ้าง หลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไปแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้นั้นนำข้อมูลภายในที่ตนทราบ ไปใช้ประโยชน์หลังจากพ้นจากตำแหน่ง และป้องกันการใช้สิทธิพิเศษในการติดต่อในฐานะที่เคยปฏิบัติงานมาก่อน

                ๔.แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน

                   การดำเนินการเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน โดยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมได้ รวมถึงไม่มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการมีผลประโยชน์ทับซ้อน

                               

 

 

มาตรการป้องกันการรับสินบนเพื่อป้องกันและปราบปราม หรือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและประพฤติมิชอบ
30 พฤศจิกายน 542

223


 

มาตรการป้องกันการรับสินบนเพื่อป้องกันและปราบปราม

 หรือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและประพฤติมิชอบ

…………………….…………………..……………

                ตามที่รัฐบาลกำหนดให้การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นนโยบายสำคัญที่หน่วยงานของรัฐจะต้องนำไปปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ทุกภารกิจต้องโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ปลอดจากทุจรติ ซึ่งการรับสินบน การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้อื่น รวมทั้งการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันกับองค์กรธุรกิจเอกชนเป็นการทุจริตที่เรื้องรังที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ได้ดำเนินการประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชั่นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ไปแล้วนั้น

                เพื่อให้ดำเนินการเป็นปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันปราบปรามการรับสินบนเพื่อป้องกันหรือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และประพฤติมิชอบขึ้นใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทุกระดับขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ทุกภารกิจต้องโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ปลอดจากทุจริต โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนั้น

                ๑.บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ต้องปฏิบัติตามมาตรการนี้โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรับหรือให้สินบนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

                ๒.บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ จะต้องไม่เรียกร้อง จัดหา หรือรับสินบนเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ หรือประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ หรือประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับตน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในลักษณะอื่นใด

                ๓.บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ จะต้องไม่เสนอว่าจะทำให้ สัญญาว่าจะทำให้หรือรับสินบนจากเจ้าหน้าที่ภาคเอกชนหรือบุคคลอื่นใดโดยมีจุดประสงค์เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่และกฎหมาย

                ๔.เมื่อผู้ใดพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการับหรือให้สินบน จะต้องรายงานผู้บังคับบัญชาหรือตามช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่

                ๕.องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ คำนึงถึงความเป็นธรรมและปกป้องบุคลากรที่ปฏิเสธการรับหรือให้สินบน โดยจะไม่ดำเนินการด้านลบต่อบุคลากรผู้นั้น

                ๖.สำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง ห้ามมีการรับหรือให้สินบนในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทุกชนิด การดำเนินการต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสซี่อสัตย์ ตรวจสอบได้และอยู่ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                ๗.การดำเนินการใด ๆ ตามมาตรการนี้ให้แนวทางปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอื่นใดที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ เห็นสมควรกำหนดในภายหลังเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการนี้              

                               

 

มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะและทางเว็บไซต์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่
30 พฤศจิกายน 542

272


มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะและทางเว็บไซต์

ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่

       

๑.ลักษณะ/ประเภทข้อมูลที่ต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะ

        ประเภทข้อมูลที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่จะนำขึ้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ เนื้อหาต้องเป็นไปตาม “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ” (Govermment  Website Standard)  ที่กำหนด โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ ได้ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ รายละเอียดตามนี้

 

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลตลอดจนบริการของหน่วยงาน

๑.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน

        -ประวัติความเป็นมา

        -วิสัยทัศน์  พันธกิจ

        -โครงสร้างหน่วยงาน ผู้บริหาร อำนาจหน้าที่

        -ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน

        -ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ

        -แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี

        -ข้อมูลการติดต่อ ประกอบด้วย ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โทรสาร และแผนที่ตั้ง

        -ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail Address) ของสำนักงาน

๑.๒  ข้อมูลผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่

        -รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหาร ประกอบด้วย ชื่อ – นามสกุล และตำแหน่ง

        -วิสัยทัศน์ นโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานราชการส่วนท้องถิ่น

๑.๓  ข่าวประชาสัมพันธ์

        -ข่าวสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป

        -ข่าวสารและประกาศของหน่วยงาน เช่น ประกาศรับสมัครงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การฝึกอบรม เป็นต้น

๑.๔  เว็บลิงค์

        -ส่วนงานภายใน

        -หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องโดยตรง

        -เว็บไซต์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

๑.๕  กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน

       -กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของท้องถิ่น

 

-๒-

๑.๖  ข้อมูลการให้บริการ

        -แสดงข้อมูลการให้บริการตามภารกิจของหน่วยงาน พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการบริการต่าง ๆ แก่ประชาชน

 

ส่วนที่ ๒ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ

๒.๑  ถาม – ตอบ (Q & A)

       -ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามข้อมูล หรือข้อสงสัยมายังหน่วยงาน

๒.๒  ช่องทางการติดต่อการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ

        -ช่องทางแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ เช่น e-mail  Web board Blog  เป็นต้น

        -ช่องทางการร้องเรียน และการติดตามสถานะเรื่องร้องเรียน

 

        ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลดังกล่าวลงเว็บไซต์ โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงและได้รับอนุญาตจากผู้บริหารก่อน จึงจะนำขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่